การอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
Telecommunications Business Licensing
คำถามที่พบบ่อย
การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมีกี่แบบ อะไรบ้าง

          ตอบ : ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม มี 3 แบบ ได้แก่
                    1) ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง
                    2) ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง
                    3) ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม


          ตอบ : การขายอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณโดยไม่มีบริการเชื่อมต่อสื่อสัญญาณ (connectivity) เนื่องจากมีลักษณะเป็นการซื้อขายสินค้าทั่วไป ไม่มีบริการรับ-ส่งข้อมูล ไม่ถือเป็นบริการโทรคมนาคมที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม

การให้บริการโทรคมนาคมแบบมีโครงข่าย และไม่มีโครงข่ายต่างกันอย่างไร
          ตอบ : การให้บริการโทรคมนาคมแบบมีโครงข่าย จะมีการลงทุนสร้างโครงข่ายโทรคมนาคม เช่น โครงข่ายใยแก้วนำแสง โครงข่ายสายทองแดง หรือมีการขออนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรคมนาคม

ตัวอย่างบริการในแต่ละประเภทใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ตัวอย่างบริการตามขอบเขต
แบบที่หนึ่ง  บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
 อินเทอร์เน็ต
 VoIP
 GPS Tracking
 VMS
 ขายต่อบริการโทรคมนาคม
แบบที่สอง  วงจรเช่า
 Trunk radio
 IIG & NIX
แบบที่สาม  บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
 บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
 บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ Dial Up
 xDSL
 WiFi
 VoIP
 บริการสื่อสารผ่านดาวเทียม

กระบวนการออกใบอนุญาตมีกี่รูปแบบ และสำนักงานใช้เวลาในการดำเนินการพิจารณาอนุญาตเท่าใด
          ตอบ : กระบวนการออกใบอนุญาตมี 2 รูปแบบ คือ
                 1. กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ สำนักงาน กสทช. จะมีระยะเวลาในการเสนอคำขอรับใบอนุญาตต่อประธาน กสทช. ภายใน 7 วันทำการ (สำหรับบริการโทรคมนาคมที่ปรากฏในภาคผนวก ข ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม)
                2. กระบวนการออกใบอนุญาตแบบทั่วไป สำนักงาน กสทช. จะมีระยะเวลาในการเสนอ กสทช. พิจารณาอนุญาตไม่เกิน 30 วัน และ 60 วัน สำหรับใบอนุญาตแบบที่สองและแบบที่สาม (สำหรับบริการโทรคมนาคมที่มิได้ปรากฏในภาคผนวก ข ของประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม)

ระยะเวลาในการอนุญาตของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่ละแบบ
          ตอบ :         
ใบอนุญาต อายุใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง กระทำได้ตลอดระยะเวลาที่ยังคงให้บริการ
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง
ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม 15-25 ปี

สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่สำนักงาน กสทช. ภาค /เขต ในต่างจังหวัดได้หรือไม่
          ตอบ : สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่สำนักงาน กสทช. ภาค /เขต ในต่างจังหวัดได้เฉพาะใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่หนึ่ง ที่เป็นบริการที่สามารถใช้กระบวนการอนุญาตแบบอัตโนมัติ เช่น บริการขายต่อวงจรเช่า บริการอินเทอร์เน็ต บริการ GPS Tracking บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง เป็นต้น

ตัวอย่างบริการภายใต้กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ และกระบวนการปกติ
          ตอบ : ตัวอย่างการให้บริการโทรคมนาคมภายใต้กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ และกระบวนการปกติ มีดังนี้
          1. ตัวอย่างบริการภายใต้กระบวนการออกใบอนุญาตแบบอัตโนมัติ
               บริการบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการ GPS Tracking บริการขายต่อบริการโทรคมนาคมเพื่อสาธารณะ บริการขายต่อวงจรเช่า บริการอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สอง เป็นต้น
          2. ตัวอย่างบริการภายใต้กระบวนการปกติ
               บริการโทรคมนาคมสำหรับรถยนต์รับจ้าง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่มีการสร้างโครงข่าย บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ตแบบที่สาม
 

การขายต่อบริการมีลักษณะอย่างไร ยกตัวอย่าง
          ตอบ : การขายต่อบริการเป็นการนำบริการของผู้ให้บริการรายอื่นมาให้บริการในนามของตนเอง เช่น การซื้อซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่จากผู้ให้บริการรายอื่นมาจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของตนเอง อาทิ บริการผู้ให้บริการซิมเพนกวิน

การรับซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่มาจำหน่ายโดยไม่มีการเปลี่ยนตราอักษร /แบรนด์/ยี่ห้อ ขายหลายแบรนด์ใน ร้านเดียว ต้องขอรับใบอนุญาตหรือไม่
          ตอบ : การรับซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่มาจำหน่ายโดยไม่มีการเปลี่ยนตราอักษร /แบรนด์/ยี่ห้อ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการได้ไม่ต้องรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม

การขายอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณ ต้องขอรับใบอนุญาตหรือไม่
          ตอบ : การขายอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณโดยไม่มีบริการเชื่อมต่อสื่อสัญญาณ (connectivity) เนื่องจากมีลักษณะเป็นการซื้อขายสินค้าทั่วไป ไม่มีบริการรับ-ส่งข้อมูล ไม่ถือเป็นบริการโทรคมนาคมที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
          ตอบ : คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมต้องเป็นนิติบุคคลไทยตามกฎหมาย อาทิ ห้างหุ้นส่วน (จำกัด) บริษัท (จำกัด) หรือบริษัทมหาชน เป็นต้น และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สองและแบบที่สาม ต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

บริษัท A เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยมีชาวต่างชาติถือหุ้น 100% สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบใดได้บ้าง
          ตอบ : บริษัท A สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตแบบที่หนึ่งได้เท่านั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 8(1) กำหนดว่า "...ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่สามต้องมิใช่เป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว..."

เอกสาร ค่าใช้จ่าย
เอกสารสำหรับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมีอะไรบ้าง
          ตอบ : เอกสารสำหรับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยสรุปแล้วประกอบด้วย  
          1. หนังสือนำส่งคำขอและแบบคำขอ เอกสารสำคัญของนิติบุคคล
          2. ข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคล
          3. ข้อมูลการให้บริการ
          4. ข้อมูลด้านเทคนิคและเทคโนโลยี
          5. ข้อมูลแผนธุรกิจ แผนการเงิน และแผนการลงทุน
          6. แผนด้านคุณภาพของการให้บริการ

การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และเป็นเงินเท่าไหร่
          ตอบ : ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาตประเภทไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จำนวน 5,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงิน 350 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,350 บาท
                ค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาตประเภทมีโครงข่ายเป็นของตนเอง จำนวน 10,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นเงิน 700 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,700 บาท

การปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาต
การปฏิบัติเบื้องต้นหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมมีอะไรบ้าง
          ตอบ :

หัวข้อ การดำเนินการ
ใบอนุญาตแบบที่ 1 และ 2 ใบอนุญาตแบบที่ 3
รายงานความคืบหน้า ทุก 3 เดือน จนกว่าจะเปิดให้บริการ ทุกเดือน จนกว่าจะให้บริการ
แจ้งเปิดให้บริการ ภายใน 1 ปี ภายใน 2 ปี
แจ้งขอขยายระยะเวลาเปิดให้บริการ ก่อนครบกำหนดเปิดให้บริการ ก่อนครบกำหนดเปิดให้บริการ
นำส่งชำระค่าธรรมเนียมและรายงานประจำปี ภายใน 150 วัน หลังปิดงบการเงินประจำปี ภายใน 150 วัน หลังปิดงบการเงินประจำปี
การนำส่งค่า USO ภายใน 150 วัน หลังปิดงบการเงินประจำปี ภายใน 150 วัน หลังปิดงบการเงินประจำปี

การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายได้ตามรายการใดบ้าง
          ตอบ : รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อชำระค่าธรรมเนียม ได้แก่ รายได้จากการให้บริการโทรคมนาคมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีของผู้รับใบอนุญาต แยกตามแบบใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับ ได้แก่ แบบที่หนึ่ง แบบที่สอง และแบบที่สาม โดยเป็นรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย และไม่สามารถนำรายการค่าใช้จ่ายใด ๆ มาหักลดหย่อนได้ กรณี ผู้รับใบอนุญาตที่ยังไม่มีรายได้จากการให้บริการโทรคมนาคมที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีของผู้รับใบอนุญาต เนื่องมาจากยังไม่มีผู้ใช้บริการ ยังไม่เปิดให้บริการ หรืออื่น ๆ จะต้องแจ้งการไม่มีรายได้พร้อมเหตุผล และส่งเอกสารประกอบการตรวจสอบการชำระค่าธรรมเนียม เพื่อใช้ในการตรวจสอบด้วย

          ตอบ : 
 
รายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
0 ถึง 100 ล้านบาท
เกิน 100 ล้านบาท ถึง 500 ล้านบาท
เกิน 500 ล้านบาท ถึง 1,000 ล้านบาท
เกิน 1,000 ล้านบาท ถึง 10,000 ล้านบาท
เกิน 10,000 ล้านบาท ถึง 25,000 ล้านบาท
เกิน 25,000 ล้านบาท ถึง 50,000 ล้านบาท
เกิน 50,000 ล้านบาทขึ้นไป
ร้อยละ 0.125
ร้อยละ 0.25
ร้อยละ 0.5
ร้อยละ 0.75
ร้อยละ 1.0
ร้อยละ 1.25
ร้อยละ 1.5

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมรายปี
          ตอบ : 
 
รายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
0 ถึง 100 ล้านบาท
เกิน 100 ล้านบาท ถึง 500 ล้านบาท
เกิน 500 ล้านบาท ถึง 1,000 ล้านบาท
เกิน 1,000 ล้านบาท ถึง 10,000 ล้านบาท
เกิน 10,000 ล้านบาท ถึง 25,000 ล้านบาท
เกิน 25,000 ล้านบาท ถึง 50,000 ล้านบาท
เกิน 50,000 ล้านบาทขึ้นไป
ร้อยละ 0.125
ร้อยละ 0.25
ร้อยละ 0.5
ร้อยละ 0.75
ร้อยละ 1.0
ร้อยละ 1.25
ร้อยละ 1.5

วิธีการ ขั้นตอน และกำหนดเวลาการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมรายปีอย่างไรบ้าง
          ตอบ : 1. กำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมผู้รับใบอนุญาตต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี กรณี ไม่ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายในกำหนดเวลา จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยเศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
                   2.    คำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมรายปีตามอัตรากำหนดข้างต้น นำส่งค่าธรรมเนียม ในช่องทางต่อไปนี้ ชำระด้วยตนเอง ชำระผ่านระบบ e-Payment ชำระโดยการโอนเงิน พร้อมนำส่งเอกสารประกอบการชำระค่าธรรมเนียม ดังนี้
                            2.1    งบการเงินประจำปีของผู้รับใบอนุญาต
                                    งบการเงินประจำปีที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฏหมายที่มีการเปิดเผยรายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการโทรคมนาคมตามแบบใบอนุญาตไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือเอกสารแสดงรายได้ดังกล่าวที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฏหมายรายเดียวกันรับรองด้วย กรณีที่ไม่สามารถนำส่งงบการเงินประจำปีที่ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฏหมายได้จะต้องนำส่งงบทดลองแทน
                            2.2    หนังสือนำส่งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
                            2.3    งบการเงินประจำปีของผู้รับใบอนุญาต
                            2.4    ตารางแสดงรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม
                            2.5    รายงานผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา
                            ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://tclicense.nbtc.go.th/download.php
                  3.    วิธีการส่งเอกสารประกอบการชำระค่าธรรมเนียม
                            3.1    ส่งด้วยตนเองที่ สำนักเลขาธิการและกำกับดูแลองค์กร ณ อาคารจอดรถ ชั้น 2 สำนักงาน กสทช.
                            3.2    จัดส่งทางไปรษณีย์ถึง เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เลขาธิการ กสทช.
                                    ที่อยู่ "สำนักงาน กสทช. เลขที่ 87 ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (ซอยสายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400"
                            3.3    ส่งทาง email หรือโทรสาร
                    4.    ข้อแนะนำประกอบการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
                            4.1    เอกสารที่นำส่งทุกหน้าต้องลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล หรือ ผู้ได้รับมอบอำนาจ และประทับตราสำคัญบริษัท (ถ้ามี)
                            4.2    กรณีผู้รับใบอนุญาตไม่เปิดเผยรายได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ให้ชี้แจงเหตุผลในตารางตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารประกอบการชำระค่าธรรมเนียมหรือหนังสือนำส่งให้ชัดเจน
                            4.3    กรณีมีรายได้ที่ไม่ได้นำมาคำนวณเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้ชี้แจงรายละเอียดของรายได้แยกแต่ละรายการในตารางแสดงรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วย
          4.4      กรณีผู้รับใบอนุญาตไม่มีรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้ชี้แจงเหตุผลในตารางแสดงรายได้จากการประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วย

การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน
ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน
          ตอบ :   (1)     ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน (MVNO) หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้ใช้บริการในนามของตนเอง ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ทั้งหมดหรือบางส่วนในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (2)     ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNA) หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ได้รับอนุญาตให้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ทั้งหมดหรือบางส่วนในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (3)     ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNO) หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีหน้าที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาต

ผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ MNO และ MVNA มีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
          ตอบ :   MNO และ MVNA ต้องเปิดเผยข้อเสนอการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการทั่วไปโดยผ่านทางเว็บไซต์ของผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และจัดส่งสำเนาข้อเสนอการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ กสทช. ภายในกำหนดเวลา

ข้อเสนอการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยบริการเสียง (Voice) บริการข้อมูล (Data) บริการพหุสื่อหรือสื่อผสม (Multimedia/Broadband Internet) และบริการข้อความสั้น (SMS) มีรายละเอียดอะไรบ้าง
          ตอบ :   (1)     รายละเอียดของบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับการให้บริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงกระบวนการและระยะเวลาการเจรจา ข้อตกลงการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (2)     ข้อกำหนดและรายละเอียดทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (3)     กระบวนการและวิธีการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (4)     ค่าตอบแทนการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (5)     ข้อกำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ซื้อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการรักษาความลับ การเปิดเผยข้อมูล และมาตรการด้านความปลอดภัย
               :   (6)     เงื่อนไขและขั้นตอนการดำเนินการในกรณีของการขอขยายเพิ่มเติมหรือลดการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (7)     ขั้นตอน วิธีการ และระยะเวลาดำเนินการของผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีต่อ ข้อร้องเรียนและข้อโต้แย้งของผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (8)     บทกำหนดความรับผิดกรณีผิดเงื่อนไขของสัญญา
               :   (9)     บุคคลและสถานที่ที่ติดต่อได้
 
               ทั้งนี้ ข้อเสนอการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องไม่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
               :   (1)     มีเงื่อนไขอันเป็นการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยก หรือกีดกันผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (2)     มีเงื่อนไขที่ไม่สมเหตุสมผลที่อาจเป็นเหตุให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจากัดการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคม
               :   (3)     มีค่าตอบแทนการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เป็นธรรม ไม่สมเหตุสมผลหรือเลือกปฏิบัติ
               :   (4)       มีเงื่อนไขทำให้ผู้ใช้บริการเสียประโยชน์

ขั้นตอนการทำสัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอะไรบ้าง
          ตอบ :   (1)     MVNO แจ้งความประสงค์จะซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหนังสือต่อผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNO หรือ MVNA) พร้อมทั้งแจ้งสำนักงาน กสทช. ทราบ
               :   (2)     MNO หรือ MVNA ต้องเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องต่อ MVNO โดยการเจรจาทำสัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 90 วัน หากการเจรจาไม่บรรลุผลภายในระยะเวลาดังกล่าว คู่กรณีสามารถขอให้ กสทช. วินิจฉัยได้
               :   (3)     เมื่อมีการลงนามในสัญญาขายส่งบริการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว MNO หรือ MVNA ต้องส่งสำเนาสัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ กสทช. ภายใน 15 วัน นับแต่ลงนามในสัญญา

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNO) อาจปฏิเสธการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เฉพาะในกรณีใดบ้าง
          ตอบ :   (1)     โครงข่ายไม่พอเพียงแก่การขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (2)     การขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีปัญหาทางเทคนิค ที่อาจก่อให้เกิดการรบกวนกิจการโทรคมนาคม
               :   (3)       ผู้ซื้อบริการขายส่งบริการมีสถานะทางการเงินที่อาจให้บริการไม่ได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNA) อาจปฏิเสธการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เฉพาะในกรณีใดบ้าง
          ตอบ :   (1)     มีบริการไม่พอเพียงแก่การขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
               :   (2)     ผู้ซื้อบริการขายส่งบริการมีสถานะทางการเงินที่อาจให้บริการไม่ได้อย่างต่อเนื่อง

การเจรจาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
          ตอบ :   ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่เริ่มต้นเจรจา

เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร
          ตอบ :   คู่กรณีแจ้งให้ กสทช. วินิจฉัยข้อพิพาทพร้อมส่งข้อมูลหลักฐาน โดย กสทช. พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อพิพาท

สัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่คู่สัญญาลงนามแล้วสามารถแก้ไขได้หรือไม่
          ตอบ :   สามารถแก้ไขได้ โดย MNO หรือ MVNA ต้องส่งสำเนาสัญญาขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ กสทช. ภายใน 15 วัน

สัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถยกเลิกสัญญาก่อนระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาได้หรือไม่
          ตอบ :   สามารถยกเลิกได้ โดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายประสงค์จะใช้สิทธิยกเลิกสัญญา การขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้คู่สัญญาดังกล่าวแจ้งให้ กสทช. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนยกเลิกสัญญา พร้อมเหตุผลและหลักฐานประกอบ โดย กสทช. อาจกำหนดเงื่อนไข หรือมาตรการใด ๆ ให้ผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปฏิบัติด้วยก็ได้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการ

หากคู่สัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มที่จะผิดเงื่อนไขตามสัญญา เช่น การผิดนัดชำระหนี้สองคราวติดต่อกัน หรือหยุดให้บริการโดยไม่แจ้ง กสทช. ทราบล่วงหน้า คู่สัญญาอีกฝ่ายมีแนวปฏิบัติอย่างไร
          ตอบ :   หากคู่สัญญามีแนวโน้มที่จะผิดเงื่อนไขตามสัญญา เช่น การผิดนัดชำระหนี้สองคราวติดต่อกัน ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายรายงานเหตุดังกล่าว ให้สานักงาน กสทช. ทราบทันที สำนักงาน กสทช. มีอำนาจเรียกให้ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะผิดเงื่อนไขตามสัญญา หรือไม่สามารถให้บริการได้ต่อไป แสดงปัญหาและเหตุผลที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหารวมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาระดับความรุนแรงของปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา

หากคู่สัญญาการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใดรายหนึ่งหยุดให้บริการโดยไม่แจ้ง กสทช. ทราบล่วงหน้า กสทช. มีแนวทางดำเนินการอย่างไร
          ตอบ :   กสทช อาจสั่งให้ผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดำเนินการ ดังนี้
               :   (1)     ในกรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนหยุดการให้บริการ โดยมิแจ้ง กสทช. ก่อน กสทช. อาจสั่งให้ผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่หยุดให้บริการ มีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการต่อไปอีก 45 วัน นับแต่มีการหยุดให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการโอนย้ายออกจากระบบ
               :   (2)     ในกรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หยุดการให้บริการ โดยมิได้แจ้ง กสทช. ก่อน กสทช. อาจสั่งให้ผู้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MVNA) ที่หยุดให้บริการมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเป็นคู่สัญญา กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่หยุดให้บริการ ต่อไปอีก 45 วันนับแต่มีการหยุดให้บริการ เพื่อให้ผู้ซื้อบริการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังกล่าวหามาตรการรองรับผู้ใช้บริการต่อไป